วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)

บทที่ 1
บทนำ

การถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เพียงแค่การยกกล้องมากดถ่ายภาพเท่านั้น แต่มันยังมีเรื่องราวของศิลปะแฝงอยู่ภายในมากมายซึ่งแน่นอนอันดับแรกเราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมกล้อง ควบคุมแสงสีต่างๆ ตลอดจนรวมไปถึงความไวชัตเตอร์และรูรับแสง แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างภาพถ่ายที่สวยงามได้ การควบคุมกล้องให้ได้อย่างใจนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกและเมื่อเรามีความชำนาญที่มากพอแล้วนั้น ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งไม่ว่าเราจะใช้กล้องแบบใดก็ตามจะเป็น Cybershot หรือว่า Alpha สิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ตลอด สิ่งที่เรากำลังพูดถึงนั้นก็คือ “การจัดองค์ประกอบภาพ” หลายต่อหลายครั้งเมื่อเราได้เห็นภาพจากนักถ่ายภาพที่มีประสบการณ์ เรามักจะเกิดความรู้สึกว่า ทำไมภาพที่ออกมาช่างดูดี ทั้งๆที่บางครั้งกล้องที่เค้าใช้นั้นก็ไม่ได้เป็นกล้องโปร หรือเลนส์โปรแต่อย่างใด หากมองให้ดี นอกจากความสวยงามในภาพแล้ว สิ่งที่ถือว่าสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้ภาพดูดีได้ก็คือ องค์ประกอบภาพ การจัดองค์ประกอบภาพที่ดีนั้นจะช่วยให้ภาพที่ได้ออกมาดูน่าสนใจมากขึ้น ถึงแม้จะไม่มีสิ่งใดเป็นข้อบ่งชี้ว่า ภาพนั้นภาพนี้จัดองค์ประกอบภาพถูกหรือผิด แต่เราสามารถทำให้ภาพดูน่าสนใจได้ เพียงแค่เรารู้วิธีในการจัดวางตำแหน่งในภาพที่ดี ก็ช่วยให้สามารถพัฒนาความคิดวิธีการจัดองค์ประกอบให้เป็นในแบบของเราได้แล้ว

การถ่ายภาพ คือ การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนคติ โดยใช้กระบวนการที่ปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนมาจากวัตถุผ่านเข้าไปกระทบกับวัตถุไวแสง แล้วจึงนำวัตถุไวแสงไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏ ปัจจุบันการถ่ายภาพให้สวยงามนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกล้องถ่ายภาพที่มีกลไกลการทำงานที่พิเศษหรือมีราคาแพงเพียงใด หากผู้ใช้ไม่มีพื้นฐานในการควบคุมและขาดความรู้พื้นฐานที่สำคัญๆซึ่งจะมีผลต่อความสวยงามของการถ่ายภาพที่ได้ก็เป็นเพียงภาพที่ถูกบันทึกได้โดยผู้ถ่ายไม่ได้ใช้ความสามารถใดๆ ทำให้ได้ภาพที่สวยงามตามต้องการ ในการถ่ายภาพนั้นเราเห็นภาพเป็นเรื่องราวที่เกิดจากแสงและการถ่ายทอดความหมายออกมาในภาษาของแสง น้ำหนักสี ลวดลายและอารมณ์ต่างๆ แสงจึงเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการถ่ายภาพ ถ้าปราศจากแสงเราไม่สามารถมองเห็นหรือถ่ายภาพได้ เพราะไม่มีแสงสะท้อนจากวัตถุเข้าตาหรือบันทึกบนส่วนรับภาพของกล้องถ่ายภาพ ดังนั้นการถ่ายภาพให้ดูแล้วรู้สึกว่าเป็นภาพที่สวยงามดีจึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจในธรรมชาติของแสงและคุณภาพของแสง

การจัดองค์ประกอบภาพ คือการที่ช่างภาพนั้นเลือกวัตถุที่ต้องการจะถ่ายให้มาอยู่ในตำแหน่งของภาพตามที่ต้องการนั่นเอง ซึ่งการจัดองค์ประกอบภาพที่ดีนั้น จะช่วยในเรื่องของความน่าสนใจและเพิ่มคุณค่าทางศิลปะให้กับชิ้นงานชิ้นนั้นมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1. สามารถทราบการจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐานที่สำคัญของการถ่ายภาพได้อย่างถูกต้อง
2. สามารถจัดองค์ประกอบภาพให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพได้อย่างสวยงาม
3. ต้องมีความเข้าใจความเข้าใจในการจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างถูกต้อง
4. สามารถถ่ายภาพได้หลากหลายรูปแบบ โดยมีการจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐานต่างๆเข้ามาช่วยในการถ่ายภาพให้สมบูรณ์

ขอบเขต
1. หลักการจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้น
2. ความหมายและความสำคัญของการจัดองค์ประกอบภาพ

สมมติฐานการวิจัย
สามารถทราบพื้นฐานที่สำคัญของการถ่ายภาพได้อย่างถูกต้อง และสามารถถ่ายภาพได้ลากหลายรูแบบ โดยมีการจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐานต่างๆเข้ามาช่วยในการถ่ายภาพให้สมบูรณ์

นิยามเฉพาะ

การจัดองค์ประกอบภาพ คือ การที่ช่างภาพนั้นเลือกวัตถุที่ต้องการจะถ่ายให้มาอยู่ในตำแหน่งของภาพตามที่ต้องการนั่นเอง ซึ่งการจัดองค์ประกอบภาพที่ดีนั้น จะช่วยในเรื่องของความน่าสนใจและเพิ่มคุณค่าทางศิลปะให้กับชิ้นงานชิ้นนั้นมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
การถ่ายภาพ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งที่ถือกำเนิดตามพัฒนาการเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนิ่ง เพราะการถ่ายภาพต้องได้มาซึ่งภาพที่เหมือนจริงมากที่สุด ดังนั้น การจะทำให้ภาพถ่ายมีคุณภาพส่วนสำคัญต้องขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นตัวกล้องที่ทำหน้าที่เสมือนห้องมืด และควบคุมระบบการทำงานต่างๆ เลนส์เปรียบเหมือนดวงตา โดยเลนส์จะถ่ายทอดความคมชัดมากน้อยแตกต่างกันไป รวมทั้งฟิล์มหรือเซ็นเซอร์ ที่ต้องเก็บสีสันความคมชัดให้เหมือนจริงมากที่สุด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของการถ่ายภาพ เพื่อให้ภาพมีลูกเล่น และน่าสนใจมากขึ้น
2. ผู้ที่สนใจสามารถจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐานให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพได้อย่างสวยงาม
3. เป็นแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับการเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ


บทที่ 2
หลักการจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้น

การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)
สำหรับการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ นอกจาก จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ดังนั้นเราจึงมาศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งในบทนี้ จะกล่าวถึงการจัดองค์ประกอบภาพอยู่ 11 ลักษณะ คือ

1. รูปทรง เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก หรือที่เรียกว่าให้เห็น Perspective หรือภาพ 3 มิติ

ภาพที่ 1 ภาพตึกและอาคาร ถ่ายจากด้านข้างเน้นให้เห็นความมั่นคงใหญ่โต

ภาพที่ 2 หน้ากากผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย เน้นให้เห็นระยะความลึก และรูปทรงของหน้ากาก

2. รูปร่างลักษณะ มีการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คื อ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดีนิยมถ่ายภาพในลักษณะ ย้อนแสง

ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้น หมดความงามไป

ภาพที่ 3 ชื่อภาพ เมือบ้าน (กลับบ้าน)เป็นการถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อให้เห็นเงาดำให้ดูแปลกตา

ภาพที่ 4 ชื่อภาพ ลอดเหลี่ยมไม้เป็นการถ่ายภาพย้อนแสงให้เห็นลีลาของกิ่งไม้

ภาพที่ 5 ชื่อภาพ ผีตากผ้าอ้อม เป็นการถ่ายภาพย้อนแสงเช่นกัน แต่รูปทรงต้นไม้ไม่สะดุดตาเพื่อใช้ประกอบโดยเน้นแสงแดดผีตากผ้าอ้อม


ภาพที่ 6 ชื่อภาพ สูงเสียดฟ้า ศรัทธาไปถึงภาพนี้เน้นให้เห็นรูปร่างของมหาเจดีย์ วัดธาตุ จ.ขอนแก่นภาพดูน่าสนใจและไม่ให้เห็นรายละเอียดของฉากหน้าที่

3. ความสมดุลที่เท่ากัน เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว

3.1 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือน กัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่ เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาด เล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใ หญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา

3.2 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ


ภาพที่ 7 ภาพหอประชุมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัย ขอนแก่นภาพมีความสมดุลย์เท่ากันสองข้าง มีความเด่น สง่ามั่นคง



ภาพที่ 8 ภาพอาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันราชภัฏ มหาสารคาม สมดุลย์ทั้งสองข้าง เด่นสง่า แข็งแรง มีฉากหน้าประกอบเรื่องราวได้ดี

ภาพที่ 9 ระที่นั่งอนันตสมคม มีเสาสองข้าง ทำให้ภาพเด่นสง่าและแปลกตา น่าสนใจ

ภาพที่ 10 งานปฏิมากรรมริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น จัดได้สมดุลย์และแปลกตา จนหลายคนต้องหันไปมอง

การจัดองค์ประกอบภาพด้วยการจัดความสมดุลย์ให้กับวัตถุ หรือ สิ่งต่างๆ ในภาพ โดยอาศัยการรับรู้ถึง "น้ำหนัก" และตำแหน่งของวัตถุต่างๆ ที่อยู่ภายในภาพนั้นๆ โดยอาศัยหลักการ คานดีด - คานงัด โดยมีตำแหน่งกึ่งกลางภาพเป็นจุดศูนย์กลางของตัวคานน้ำหนัก

โดยให้ท่านจินตนาการดูว่าคานอันหนึ่งวางพาดอยู่กลางภาพ โดยมีจุดหมุนอยู่กึ่งกลางของตัวคาน วางวัตถุลงบนตัวคานทั้ง 2 ด้าน หลักการคือ การพยายามจัดองค์ประกอบ(วัตถุ) ลงในภาพโดยให้มีความรู้สึกถึงความสมดุลย์ของคานทั้ง 2 ฝั่ง

การรับรู้น้ำหนักของวัตถุจากคนดู ขณะดูภาพ


วัตถุขนาดใหญ่จะมีน้ำหนักในภาพมากกว่าวัตถุที่มีขนาดเล็ก แต่ถ้าวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า หากวางในจุดที่อยู่ห่างออกไปจากจุดกึ่งกลางของคาน ในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็จะสามารถสร้างดูมีพลังและน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้นกว่าปรกติ เพื่อนำถ่วงดุลกับวัตถุที่ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่อยู่ดีกด้านหนึ่งของคานได้

การรับรู้ถึงน้ำหนักมาก
1) วัตถุมีขนาดใหญ่
2 ) วัตถุมีสีเข้ม
3 ) ตำแหน่งของวัตถุอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางภาพ

การรับรู้ถึงน้ำหนักน้อย
1 ) วัตถุมีขนาดเล็ก ( หรือเป็นที่ว่างในภาพ )
2 ) วัตถุมีสีอ่อน
3 ) อยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางของภาพ


ดังนั้นในการจัดองค์ประกอบของภาพนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงกฏสามส่วนแล้ว ควรจะนึกภาพตาช่างเสมือน ไว้ในใจเสมอ โดยพยายามวางวัตถุต่างๆ เพื่อให้มีการถ่วงดุลย์ ไม่จำเป็นต้องเอาวัตถุใหญ่ๆ 2 อันมาวางไว้ทั้ง 2 ด้านของคานเพื่อให้น้ำหนักหรือสมดุลย์ของภาพเท่ากัน แต่เป็นเรื่องของความเหมาะเจาะพอดีของ ( ขนาดวัตถุ / สีสัน / โทนความเข้มอ่อนของวัตถุ ) ก็ได้

4. ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี รูปทรง ท่าทาง ฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนในกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี

ภาพที่ 11 เรือ 2 ลำ รูปร่าง มุมมอง แตกต่างกันแต่ดูสมดุลย์ได้เพราะส่วนประกอบของฉากหลังมาช่วย


ภาพที่ 12 คล้ายกับภาพที่ 11 โดยมีป้อมลอยน้ำมาเสริมน้ำหนักให้เรือลำที่อยู่ด้านหลังมีความสมดุลย์กับเรือลำแรก

ภาพที่ 13 ภาพเงาดำของต้นไม้ ข้างเดียว แต่มีดวงอาทิตย์มาเสริมให้ เกิดความสมดุลย์



ภาพที่ 14 พระพุทธรูปที่สุโขทัย เสา และก้อนเมฆมาช่วยให้องค์พระกิดความสมดุลย์

5. ฉากหน้า คือสิ่งที่อยู่ใกล้คนดูมากที่สุดที่จะปรากฏในภาพ มันมีอิทธิพลต่อภาพอย่างยิ่งยวด
ฉากหน้าที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้ภาพดูแน่น มีชีวิตชีวา และช่วยให้ภาพดูมีเรื่องราวมากยิ่งขึ้น
ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไปฉากหน้า ซึ่งคำนี้ มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับการถ่ายภาพ ที่ดี เพราะหลายคนถ่ายรูปแล้ว ไม่มีมิติ ดูแบน จืด สนิท หรือ ไม่มีทัศนมิติ (perspective) แม้การถ่ายภาพเต็ม ๆ ของวัตถุหลัก เป็นสิ่งจำเป็น แต่การถ่ายภาพที่มีฉากหน้า ทำให้ดูดีขึ้น


โดยทั่วไปแล้วคนที่ไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ มักจะยกกล้องขึ้นเมื่อเจออะไรที่สวยงามและอยากจะบันทึกภาพเก็บเอาไว้ โดยเพ่งความสนใจไปที่ตัวเอกที่อยู่ในภาพ ดังนั้นภาพถ่ายที่เราเห็นโดยทั่วไป ก็มักจะมีแต่พระเอก โดยที่บรรดาตัวประกอบอื่น ๆ มักจะถูกละเลยไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ฉากหน้า” ที่เรากำลังจะพูด

ถึง ที่เราเราอาจจะสงสัยว่า ทำไมภาพถ่ายของเรามันถึงไม่สวยเหมือนกับที่เขาถ่าย ๆ กัน มันต่างกันตรงไหน?

ข้อควรระวัง อย่าให้ฉากหน้าเด่นจนแย่งความสนใจจากสิ่งที่ต้องการเน้น จะทำให้ภาพลดความงามลง

คำตอบก็คือ เรื่องขององค์ประกอบต่าง ๆ หรือบรรดาพระรองและตัวประกอบทั้งหลายนี่แหละ ในตอนที่ดูภาพหนึ่ง ๆ นั้น คนเราไม่มาเจาะแต่ละจุดกัน แต่จะมองโดยภาพรวมทั้งหมด แล้วตอบกลับออกมาด้วยอารมณ์และความรู้สึกเท่าที่ปรากฏตอนนั้น โดยที่ให้น้ำหนักไปที่พระเอกของภาพเป็นสำคัญ ซึ่งพระเอกจะตกเป็นเป้าของสายตาหรือจุดสนใจ แต่ตัวประกอบจะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ภาพนั้นดูสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในความรู้สึก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รู้สึกอย่างชัดเจนว่ามันอยู่ตรงนั้น

ในแต่ละครั้งที่คุณจะถ่ายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพ Landscape หรือภาพทิวทัศน์ ควรพิจารณาและใคร่ครวญถึงพระรองอย่างฉากหน้าเอาไว้ด้วย แล้วลองวางตำแหน่งและปริมาณของมันอย่างเหมาะสม มากไปก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี ซึ่งเป็นการยากว่าควรจะวางตำแหน่งของมันเอาไว้ที่กี่เปอร์เซนต์ของภาพ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของ “พระเอก” ของภาพด้วย ซึ่งในบางลักษณะ ตัวฉากหน้าอาจจะมีพื้นที่มากกว่าพระเอกก็เป็นได้ แต่ลักษณะ และความโดดเด่นต้องไม่มากไปกว่าตัวแบบที่เราต้องการเน้นในภาพ
หน้าที่หลักของฉากหน้าก็คือ การเติมเต็มในส่วนที่มักจะเป็นพื้นที่โล่ง ๆ ในภาพ ซึ่งก็คือด้านหน้าของเรา สังเกตดูได้เลยว่า เมื่อภาพขาดฉากหน้าไป ภาพก็จะดูหลวม ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เลนส์มุมกว้างหรือกว้างพิเศษ ซึ่งจะทำให้วัตถุในภาพดูไกลออกไปมากกว่าที่เป็นจริง ๆ ฉากหน้าจะเข้ามาช่วยทำให้เกิดความรู้สึกว่า พื้นที่นั้น ๆ ไม่ได้ไกลจนเกินไป ซึ่งก็หมายความว่ามันสามารถที่จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยบอกระยะในภาพได้ด้วย ฉากหน้าไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงแค่นั้น หน้าที่ของมันอีกอย่างหนึ่งคือการดึงดูดสายตาของผู้ดูภาพให้เข้าไปสู่จุดเด่นในภาพได้ด้วย โดยการใช้ลักษณะของเส้นหรือการเรียงแถวกันของวัตถุที่ใช้เป็นฉากหน้า ก็จะช่วยนำสายตาของผู้ดูภาพให้เข้าสู่ในภาพอย่างมีชั้นเชิงได้ด้วย

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของฉากหน้าก็คือ การเสริมในด้านของเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกันของตัวเด่นในภาพ เช่นใบไม้ของดอกไม้ที่เป็นตัวเด่น หรือริ้วลายของผืนทรายที่ชายทะเล แม้กระทั่งวัชพืชที่มีอยู่เป็นเอกลักษณ์นั้น ๆ ฯลฯ เหล่านี้คือตัวช่วยเสริมเรื่องราวให้กับภาพถ่ายของเราได้เป็นอย่างดี การมองหาฉากหน้าที่เหมาะสมก่อนการวางตำแหน่งกล้อง ก็เป็นสิ่งที่เราควรทำก่อนถ่ายภาพ เลือกใช้ฉากหน้าที่ดูไม่ชุลมุนวุ่นวายหรือไม่มีสีสันที่รบกวนตัวแบบในภาพมากจนเกินไป และหลีกเลี่ยงฉากหน้าที่มีการสะท้องแสงให้เกิดจุดที่เป็นไฮไลท์ของจุดแสงขึ้นในภาพ เพราะถ้าฉากหน้าของคุณมีแสงสว่างจ้า เช่น พระอาทิตย์ที่สะท้อนอยู่ในแอ่งน้ำหรือโลหะมันวาว เพราะมันจะแย่งสายตาและความสนใจของผู้ดูภาพออกจากตัวแบบที่เราต้องเน้นในภาพทันที เดินดูให้รอบ ๆ ว่าพอจะมีสิ่งใดที่เราจะใช้เป็นฉากหน้าได้บ้าง? ปรับเปลี่ยนมุมกล้องไปมา เพื่อดูความเหมาะสม บางที คุณอาจจะต้องใช้มุมต่ำเรี่ยพื้น เพื่อวางให้ตำแหน่งของฉากหน้าดูดี แต่ต้องไม่ลืมว่ามันไม่ควรจะดีไปกว่าตัวเด่นของภาพ ลองมองหาฉากหน้าที่มีเรื่องราวที่ต่อเนื่องกับตัวแบบในภาพ จะทำให้ภาพของคุณสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แบ่งขนาดพื้นที่ของฉากหน้าในภาพให้ดี อย่ากังวลหากมันใช้พื้นที่มาก มืออาชีพบางคนวางทันทับตัวแบบด้วยซ้ำไปถ้ามันเหมาะสมและมีเหตุผลมากพอ ดูภาพให้มาก แล้วสังเกตการณ์ใช้ฉากหน้าจากคนเหล่านั้น

6. ฉากหลัง พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป

ภาพที่ 15 ชื่อภาพ ความสดใสในป่าลึก ใบไม้ธรรมดา ๆ แต่ฉากหลังสีดำสนิท (วัดแสงที่ใบไม้) ทำให้ใบไม้ดูเด่นและมีคุณค่าขึ้น



ภาพที่ 16 ผีเสื้อและดอกไม้ เด่นขึ้นมาเพราะฉากหลังสีทึบและกลมกลืน มีสีเหลืองปนมาบ้าง ทำให้ภาพดูน่าสนใจและไม่จืดเกินไป

7. ทฤษฎีกฎสามส่วน (Rule of Third) เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด (ดังภาพ) หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุด หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่นนิยมจัดภาพแบบนี้มาก
ทฤษฎีกฎสามส่วน (Rule of Third) เป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ภาพออกมาดูดี โดย หลีกเลี่ยง การวางตำแหน่งของวัตถุหลักที่เราจะถ่าย ไม่ให้อยู่ตรงจุดกึ่งกลางภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นแข็งทื่อ ไม่ชวนมอง ดังนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการวางวัตถุ ควรอยู่ในตำแหน่งที่เกิดจากจุดตัดของเส้นสี่เส้นตามทฤษฎี กฏสามส่วน ซึ่งการจัดวางตำแหน่งหลักของภาพถ่าย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดผลทางด้านแนวความคิด และความรู้สึกได้ การวางตำแหน่งที่เหมาะสมของจุดสนใจในภาพเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ

ภาพที่17ดวงอาทิตย์จะลับฟ้าที่ภูเก็ต อยู่ตำแหน่งบนซ้ายทำให้มีทิศทาง ทำให้ภาพมีความน่าสนใจขึ้น มากกว่าวางกึ่งกลาง


ภาพที่ 18 ปีกของแมงปออยู่ที่จุดล่างขวา เปิดระยะด้านหน้ามาก ดูไม่อึดอัด และเป็นธรรมชาติ รู้สึกถึงความเคลื่อนไหว

วิธีการก็คือ ให้ท่านสร้างเส้นสมมติ 4 เส้นเพื่อแบ่งช่องมองภาพทั้งแนวตั้ง 2 เส้น และ แนวนอน 2 เส้น เหมือนกับตีตารางเล่น O-X จุดที่เส้นทั้ง 4 ตัดกัน คือตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการวางวัตถุหลักไว้ในบริเวณดังกล่าว ให้เลือกจุดที่ท่านคิดว่าเหมาะสมที่สุดจุดใดจุดหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาพที่เรากำลังจะถ่ายว่ามี ฉากหน้า - ฉากหลัง เป็นอย่างไร รวมทั้งเรื่องราวในภาพ ( มีกล้องหลายตัวที่มีฟังก์ชั่นในการสร้างเส้นสมมติดังกล่าวขึ้นมาใน View Finder หรือ LCD เพื่อช่วยผู้ถ่ายในการอ้างอิงจุดตัตมากฏสามส่วน เช่น Fuji- S9500 , S9600 เป็นต้น)



กฎสามส่วนกล่าวไว้ว่า ไม่ว่าภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หากเราแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วน ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส่น จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด ซึ่งจุดตัดของเส้นทั้งสี่นี้ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก ส่วนรายละเอียดอื่นๆนั้น เป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา

การจัดวางตำแหน่งจุดเด่นหลักไม่จำเป็นจะต้องจำกัดมากนัก อาจถือเอาบริเวณใกล้เคียงทั้ง สี่จุดนี้



(จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าจุดสนใจจะอยู่บริเวณจุดตัด ทำให้ภาพดูสมบูรณ์ )


หรือจะจัดในตำแหน่งที่ใกล้เคียงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องวางอยู่บนจุดตัดพอดี
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้แนวเส้นแบ่ง 3 เส้นนี้ เป็นแนวในการจัดสัดส่วนภาพก็ได้อย่างการจัดวางเส้นขอบฟ้าให้อยู่ในแนวเส้นแบ่ง โดยให้ส่วนพื้นดินและท้องฟ้าอยู่ใน อัตราส่วน 3:1 หรือ 1:3 แต่ไม่ควรแบ่ง 1: 1





















( ในรูปแนวตั้งก็เช่นเดียวกัน )

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า อัตราส่วนระหว่างพื้นดินกับท้องฟ้าเป็น 1:3 นอกจากนี้ตำแหน่งจุดสนใจยังอยู่ที่บริเวณจุดตัด ทำให้ภาพดูสมบูรณ์ และน่าสนใจยิ่งขึ้น และเรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพอื่นๆ โดยใช้หลักการเดียวกัน

8. เส้นนำสายตา เส้น พื้นฐานงานศิลปะ ทุกชนิด คงจะจำได้อย่างเลือนลาง เพราะมีอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับประถม ที่ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง ถึงความหมายของเส้น ที่เกิดจากจุดหลายๆ จุดมาเรียงต่อกัน วันเวลาผ่านไปก็ได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่าเส้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็กน้ำ เส้นใหญ่ หรือแม้กระทั่งคำว่าเล่นเส้น เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น

ภาพที่ 19 ฝายน้ำล้นที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น มีแนวสันฝาย นำสายตาไปสู่กระแสน้ำ และโยงเข้าหากลุ่มคน ทำให้ภาพมีเรื่องราว สนุกดี

เส้นเส้นเดิมเมื่อทำมุมต่างๆกันจะมีผลต่อความรู้สึกมนุษย์ เรื่องเส้นจึงเป็นเรื่องทีมหัศจรรย์ เส้นตรงให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง เส้นทะแยง ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ไม่มั่นคง เส้นนอนให้ความรู้สึกนิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลาย เส้นโค้งให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ช้าๆ นุ่มนวล เส้นหยัก ให้ความรู้สึกขัดแย้ง น่ากลัวรุนแรง และเป็นจังหวะ และเส้นประให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ขาดหาย โดยพื้นฐานแล้ว ภาพถ่ายก็คือเส้นหลายเส้น แตกต่างด้วยสี ต่างรูปลักษณ์มารวมกันเกิดเป็นภาพที่เราเห็น ตัวเรามีหน้าที่จัดวางเส้น ให้อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม จึงเกิดเรื่องเส้นนำสายตา พื้นฐานการถ่ายภาพที่ช่วยสร้างภาพให้มีความลึก โดยการจัดเรียงเส้นลงในภาพถ่าย โดยคำนึงถึงความสวยงาม อารมณ์ภาพ และที่สำคัญคือความลึกของภาพให้ดูเป็นภาพ 3 มิติ แต่หากยังนึกภาพตามไม่ออก ลองจินตนาการถึงภาพที่มีเส้นพุ่งออกไปไกลๆ หรือโค้งซ้าย ขวา นำสายตาให้เรามองตาม หรือนำสายตาไปสู่จุดเด่นของภาพ เราสามารถใช้ถนน ลำธาร ท่อนไม้ นิ้วมือ หรือสิ่งที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นเส้นนำสายตา ไม่ใช่ภาพถ่ายแบนๆ ที่มีมิติแค่ความกว้างยาวบนจอแสดงผลคอมพิวเตอร์ และกระดาษอัดภาพ แต่ยังมีความลึก เสมือนกับที่ตาเห็น เมื่อวางเส้นนำสายตาไปสู่องค์ประกอบหลัก จุดเด่น หรือความหมายหลักของภาพ เพิ่มความชัดเจน และความน่าสนใจของภาพ



ภาพที่ 20 แม้องค์พระจะมีขนาดเล็ก แต่เสาเรียงตัว เป็นแนวเดียวกันทั้งสองข้าง ทำให้ความสนใจพุ่งเข้าไปหา องค์พระ ทำให้เด่นขึ้น

ภาพที่ 21 ธงทิว และไม้ประดับเรียงตัวกันพุ่งไปสู่โบสต์ ทำให้มีทิศทางบอกเรื่องราวได้อย่างดี

9. เน้นด้วยกรอบภาพ หรือ การใส่กรอบให้กับภาพ แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ
หลักการนี้เป็นหลักการสร้างจุดสนใจให้กับภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยให้เราหารอบประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นกรอบอาจจะสองด้านหรือว่าสี่ด้านก็ได้ แล้วจากนั้นก็นำจุดสนใจในภาพไปใส่ไว้ในกรอบนั้นๆ ผู้ชมภาพจะถูกบีบด้วยกรอบที่ซ้อนอยู่ในภาพให้มองไปยังจุดสนใจที่เราวางเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นอีกทางหนึ่งได้

ภาพที่ 22 พระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งอยู่ไกลทำให้มีขนาดเล็กจึงใช้ชายคาบังส่วนที่ไม่จำเป็น ทำให้พระธาตุเด่นขึ้นมา(พระธาตุดูเอียงเนื่องจากการใช้เลนส์มุมกว้าง)



ภาพที่ 23 ภาพนี้คงดูโล่ง ๆ ถ้าไม่มีประตูทางออกของรถไฟเป็นกรอบ ทำให้ภาพกระชับขึ้น และเด่นขึ้น

10. การเหลือพื้นที่ ในหลายๆครั้งนั้นเราจะพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นทีส่วนอื่นๆในภาพว่าเราควรจะเหลือส่วนไหนอย่างไรดี หลักการนี้ก็เป็นหลักการง่ายๆโดยให้เราทำการเหลือพื้นที่ด้านเดียวกับจุดสนใจในภาพเพื่อให้คนดูภาพไม่รู้สึกอึดอัด เช่นถ้าหากหน้าคน รถ หรือว่าอะไรก็ตามหันไปทางไหนให้เราเหลือพื้นที่บริเวณนั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หลักการนี้เป็นหลักการง่ายๆที่ไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าหากภาพนั้นต้องการสื่อถึงอารมณ์ให้รู้สึกอึดอัดก็ไม่จำเป็นต้องเหลือพื้นที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการบอกอะไรคนดู




11. เน้นรูปแบบซับซ้อน หรือแบบ Pattren เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา

ภาพที่ 24 ดอกคัตเตอร์สีขาว รวมกันเป็นกลุ่ม ตัดกับพื้นหลังสีดำทำให้ภาพดูสนุก แปลกตา แม้ว่าจะไม่มีจุดเด่นก็ตาม

ภาพที่ 25 เด็กนั่งฟังหมอลำ แสดงอาการสีหน้าท่าทางต่าง ๆ ดูสดชื่น น่ามอง

ที่ได้กล่าวมาทั้ง 11ลักษณะ เป็นเพียงการจัดองค์ประกอบภาพที่เป็นที่นิยมกัน และเป็นพื้นฐาน ในการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพเท่านั้น ผู้ถ่ายภาพ ควรฝึกการจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะ ที่แปลกใหม่ อยู่เสมอ ซึ่งเชื่อแน่ว่าคุณต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน


บทที่ 3
ความหมายและความสำคัญของการจัดองค์ประกอบภาพ

การถ่ายรูปให้สวย ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายด้าน และสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้การเริ่มต้นถ่ายรูปของมือใหม่ได้ผลลัพท์ที่น่าพึงพอใจคือ "การจัดองค์ประกอบภาพ" ความหมายของการจัดองค์ประกอบภาพก็คือการตั้งใจจัดวางวัตถุในกรอบที่เราจะ ถ่ายให้มีศิลปะ เป็นการจัดวางภาพอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่ยกกล้องขึ้นมาแล้วถ่ายรูปทันที อย่างนั้นโอกาสได้ภาพสวยก็ขึ้นอยู่กับความบังเอิญเท่านั้น แต่ถ้าคุณผู้อ่านเรียนรู้ที่จะจัดองค์ประกอบภาพ รูปที่สวยก็จะเป็นการสวยอย่างตั้งใจ สวยด้วยมือท่านจริงๆ

การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้น มีหลักการให้เราเลือกใช้อยู่หลายรูปแบบ ผมจะไม่อธิบายมากความ แต่จะให้ดูรูปประกอบและอธิบายเหตุผลที่ถ่ายรูปเหล่านี้มา เพื่อให้คุณผู้อ่านได้เห็นภาพและรับรู้ถึงเหตุผลที่ผมจัดองค์ประกอบภาพใน ลักษณะต่างๆ นี้
จุดสนใจ (Center of interest) เป็น การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายที่สุด ใช้ได้ผลที่สุด และเป็นหลักการที่ควรใช้ทุกครั้งในการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปครอบครัว การถ่ายภาพคน ถ่ายภาพธรรมชาติ วิวทิวทัศน์ คุณผู้อ่านจำเป็นต้องเลือกจุดสนใจในภาพให้เป็นตัวเอก ซึ่งก็อาจเป็นรูปนางแบบ หรือรูปภูเขาที่โดดเด่น ถ้าภาพไม่มีจุดสนใจอยู่เลย ก็จะทำให้ภาพขาดความน่าสนใจ ผู้ชมจะรู้สึกได้ว่าภาพนี้เขาต้องการสื่อถึงอะไรนะ จุดสนใจอาจเป็นวัตถุ อาจเป็นสีสัน อาจเป็นอารมณ์ของภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของการวางจุดสนใจในระดับสูงขึ้นไปอีก ก่อนที่จะก้าวไปถึงขั้นนั้น ขอให้คุณผู้อ่านจำหลักการง่ายๆ ในการวางจุดสนใจ "จุดสนใจในภาพต้องดูง่าย ผู้ชมเห็นแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเราต้องการสื่อถึงอะไร" หลักการวางจุดสนใจ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการจัดองค์ประกอบภาพอื่นๆ จุดประสงค์ก็คือทำอย่างไรให้สิ่งที่เราต้องการสื่อในรูป โดดเด่นและน่าสนใจ ไม่ใช่ว่าผู้ชมดูรูปถ่ายแล้วไม่รู้ว่าเราถ่ายอะไรมาเทคนิคการถ่ายภาพยังมีอีกมากมาย แต่ไม่ว่าจะถ่ายภาพอะไรก็ตาม หากจัดองค์ประกอบภาพดีก็ถือได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่งเลยทีเดียว


บรรณานุกรม

John Hedgecoe.(2001).New Introductory Photography Course.China ,Tppan printing Co.,(H.K.)Ltd.
ลัดดา ศุขปรีดี.(2545).เทคโนโลยีการถ่ายภาพ,ชลบุรี:ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
อำนวยพร บุญจำรัส.(2553)THE ART OF PHOTOGRAPHY ศิลปะแห่งการถ่ายภาพ.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Lee Frost.(1998).Photographing People For Advertising.New York,Watson-Guptill.